ทางรอดการเจ็บป่วย

จากบทความ ลำดับการเจ็บป่วย เราได้รู้แล้วว่า ลำดับการเจ็บป่วย คือ

  1. เกิดจากวิถีชีวิตและสิ่งแวดล้อมของเรา (Life style, Environment factor)
  2. บ่อยครั้งที่ทำให้เซลล์ของเราทำงานมากกว่าที่ควรจะเป็น (Cell Overwhelming)
  3. เซลล์และส่วนรอบข้างจึงจำเป็นต้องบริหารจัดการ เพื่อให้เกิดดุลยภาพของเซลล์ (Cell waste product and pH imbalances)
  4. ฟื้นฟูและพัฒนา ด้วยการสลายของเก่าเพื่อโอกาสในการสร้างสิ่งใหม่ (Repair or Inflammation)

และหากไม่สามารถทราบและได้รับการดูแลที่เหมาะสมแล้ว เซลล์จะไม่สามารถพัฒนาและฟื้นฟูได้

  1. เซลล์จึงเริ่มเสื่อม เมื่อเซลล์หลายๆเซลล์เสื่อมจนทำให้ตำแหน่งหรืออวัยวะนั้นเสื่อมลง (Cell and organ function impairment)
  2. จนก่อให้เกิดอาการ หรือสามารถตรวจวัดได้อย่างชัดเจน จึงสามารถระบุชื่อสิ่งที่เกิดขึ้นนี้ได้ (Degenerative diseases)
  3. และเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องก็จนส่งผลต่อส่วนหรือระบบอื่นต่อๆไป (Body overwhelmed by disease)

 

ซึ่งการตรวจวัดเส้นทางการเจ็บป่วยในลำดับต่างๆนี้ เราก็ได้ทราบกันในบทความเส้นทางการเจ็บป่วย ไปแล้ว ครั้งนี้เราจะหาทางรอดของการเจ็บป่วยกัน

“ทางรอด” ตามลำดับและเส้นทางของการเจ็บป่วย คือ

  1. หลังจากที่เราได้ประเมินวิถีชีวิต, สิ่งแวดล้อมของเราด้วยตนเอง หรืออาจมีผู้เชี่ยวชาญ, แพทย์, การตรวจพิเศษช่วยประเมินแล้ว สิ่งที่เราทำได้คือ การปรับเปลี่ยน ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตและสิ่งแวดล้อมได้ โดยใช้หลักการ จังหว่ะ ปริมาณ และคุณภาพ ที่เหมาะสม (สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่บทความเคล็ดลับทรงพลัง) และลด ละ เลิก สิ่งที่เป็นพิษต่อเรา (หนึ่งในตัวอย่างของอาหาร สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่บทความทางรอดอาหารก่อมะเร็ง )
  2. เมื่อเซลล์ของเราเริ่มทำงานมากกว่าที่ควรจะเป็น แน่นอนว่าก็ต้องการพลังชีวิต, โภชนาการ, สารน้ำที่มากขึ้นตามไปด้วย เราจึงควรเลือกรับประทานอาหารที่ สะอาด สด ใหม่ หลากหลาย ตามฤดูกาล แปรรูปน้อยเป็นหลัก และบางทีอาจให้โภชนาการเสริมในรูปแบบกินหรือฉีด เพื่อให้เพียงพอและสอดคล้องต่อความต้องการในวิถีชีวิตและสิ่งแวดล้อมของเรา (สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่บทความอาหารเสริมจำเป็นหรือไม่)
  3. เมื่อเกิดของเสียหรือผลผลิตจากเซลล์ที่มากขึ้น เราสามารถช่วยส่งเสริมการบริหารจัดการของเซลล์ด้วยได้รับโภชนาการและสารน้ำที่เพียงพอแล้ว ยังสามารถส่งเสริมเพิ่มเติมได้ด้วยการออกเหงื่อ, หายใจเข้าออกลึก-ช้า, งดอาหารบางมื้อ(Fasting), การส่งเสริมการทำงานของตับ, การสวนล้างลำไส้ หรืออาจใช้สารหรือวิธีการพิเศษอีกมากตามความเหมาะสมของแต่ละบุคคล ทั้งหมดนี้เพื่อส่งเสริมให้เกิดดุลยภาพของเซลล์
  4. เสริมสร้างการฟื้นฟู ด้วยการพักฟื้น พักผ่อนที่เพียงพอ บำบัดด้วยออกซิเจน (Oxygen therapy) เพื่อทำให้การอักเสบอยู่ในระดับที่เหมาะสม ใช้ยาหรืออาหารเสริมบางชนิด หรือแม้กระทั่งใช้หลักการเซลล์ซ่อมเซลล์ เป็นต้น
  5. แต่เมื่อความเสื่อมนั้นเริ่มส่งกระทบต่อการทำงานของอวัยวะ เราอาจใช้การทดแทนหรือสนับสนุนการทำงานของเซลล์หรืออวัยวะ ด้วยฮอร์โมน เปปไทด์ โมโนโคลนอลแอนติบอดี หรือสารสกัดต่างๆ เพื่อดำรงการทำงานของอวัยวะไว้
  6. เมื่อถึงจุดที่ก่อให้เกิดอาการ หรือสามารถตรวจวัดได้อย่างชัดเจน จนสามารถระบุชื่อหรือวินิจฉัยสิ่งที่เกิดขึ้นนี้ได้ ยาหรือหัตถการทางแพทย์ ก็จะถูกนำมาใช้เพื่อ บรรเทาอาการ เยียวยา ประคับประคอง เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจส่งต่อไปยังอวัยวะหรือระบบร่างกายโดยรวม (ซึ่งในส่วนนี้จำเป็นต้องใช้ศิลปะและประสบการณ์ในการพิจารณาถึงข้อดีและข้อเสียที่อาจขึ้นอย่างละเอียด) เพื่อดำรงคุณภาพชีวิตไว้
  7. เมื่ออยู่ในจุดที่เกิดผลกระทบต่อร่างกายหรืออวัยวะในวงกว้างแล้ว แน่นอนว่า ก็ต้องทำทุกวิถีทางเพื่อรักษาชีวิตไว้ เช่น ฟอกไต สวนหรือใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ ฯลฯ

 

จะเห็นว่า มีโอกาสหรือทางรอดมากมายในแต่ละลำดับหรือเส้นทางต่างๆ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการตระหนัก ความต้องการ หรืออาจกลายเป็นความจำเป็น เพื่อสนับสนุนให้เราได้มีชีวิตอยู่

 

“การมีชีวิตที่ทรงพลัง ขึ้นอยู่กับตัวของเราเอง เพราะพลังที่ทรงพลังที่สุด อยู่ภายในตัวของเราเองทุกคน”

 

หมายเหตุ บทความเนื้อเป็นเพียงมุมมองของผู้เขียน เพื่อสร้างความเข้าใจ ป้องกันความเข้าใจผิดหรือการกล่าวอ้างเกินจริงของการรักษาต่างๆ และไม่ได้มีจุดประสงค์เปรียบเทียบว่าการรักษาแบบใดเหนือกว่าแบบใด เพราะทุกการดูแลรักษาล้วนก่อเกิดมาจากเจตนาที่ดีและมีจุดประสงค์เฉพาะตัว

 

สามารถติดตามบทความทางสุขภาพอีกมากมาย เพื่อสร้างวิถีอันทรงพลัง ได้ที่

วิถีทรงพลัง – บริษัท ดอกเตอร์ทรงพลัง จำกัด

เหนือการเจ็บป่วย – บริษัท ดอกเตอร์ทรงพลัง จำกัด

https://www.drsongpalang.com/category/blog/

Facebook Page: https://www.facebook.com/dr.songpalang

สุดท้ายนี้ ทีมงานดอกเตอร์ทรงพลังขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านทรงพลังอย่างยั่งยืน

Verified by MonsterInsights