สร้างสุขภาพที่ดีด้วยนิสัยเล็กๆ ยามเช้า

 

ระบบร่างกายของเราทำงานเชื่อมโยงกับเวลา สัมพันธ์กับแสงอาทิตย์ และดวงจันทร์

การที่เราตื่นขึ้นมาในแต่ละวัน เวลาและแสงมีผลอย่างมากกับฮอร์โมนและระบบต่างๆ ของร่างกาย ฮอร์โมนแห่งความตื่นตัว (Cortisol) ของเราจะถูกหลั่งออกมา เพื่อให้ร่างกายตื่นและเริ่มทำงานจากการนอนหลับ

เมื่อฮอร์โมนต่างๆ ทำงาน ระบบภายในร่างกายเริ่มมีการตอบสนองและเรียนรู้ต่อสิ่งเร้า ปรับความดันโลหิต เกิดการเผาผลาญพลังงาน โดยเฉพาะพลังงานจากไขมันที่เก็บสะสมไว้ให้เปลี่ยนมาอยู่ในรูปของ ORGANIC ACID และ น้ำตาล

“หากฮอร์โมนทำงานได้ไม่เต็มที่ในตอนเช้า เราจะรู้สึกตื่นยาก หรือตื่นขึ้นมาไม่สดชื่น ไร้เรี่ยวแรง ไม่มีสมาธิในการทำกิจกรรม”

 

ฮอร์โมนจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพียงออกกำลังกาย

การออกกำลังกายร่วมกับรับแสงแดดยามเช้าที่อากาศยังไม่ร้อนจัด รังสียูวีและฝุ่นควันต่ำ ดีต่อระบบทางเดินหายใจ ยังส่งผลโดยตรงต่อประสิทธิภาพการทำงานของฮอร์โมนภายในร่างกาย ช่วยให้ระบบต่างๆ ของร่างกายทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ เราจึงรู้สึกกระปรี้กระเปร่า สดชื่น และตื่นตัวพร้อมสำหรับกิจกรรมในแต่ละวัน รวมถึงการผลิตฮอร์โมนเมลาโทนิน (Melatonin) ที่มีส่วนช่วยลดความเครียด ควบคุมการนอนหลับให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น

เพราะเรายังไม่ได้ทานอาหารทำให้ระดับพลังงานของเราต่ำและคงที่ เมื่อเราเพิ่มการเผาผลาญด้วยการออกกำลังกาย สอดคล้องกับฮอร์โมนคอลติซอล Cortisol ทำหน้าที่เผาผลาญไขมันโดยตรง จึงทำให้เราลดไขมันได้อย่างรวดเร็ว ลีนง่ายขึ้น

“การออกกำลังกายในยามเช้า เป็นสิ่งที่ท้าทายมาก เมื่อเราทำได้ จะทำให้เราเกิดความภูมิใจ มั่นใจในความสำเร็จของตัวเอง ซึ่งส่งผลต่อกิจกรรมต่างๆ ที่เราตั้งเป้าไว้ ทำให้มีโอกาสประสบความสำเร็จได้มากยิ่งขึ้น”

 

ช่วงเช้า คือระหว่างก่อนหรือหลังพระอาทิตย์ขึ้น 1 ชม.

การออกกำลังกายในช่วงเช้า ควรใช้เวลาประมาณ 30-90 นาที วอร์มร่างกายอย่างน้อย 10-15 นาที เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นและลดอาการบาดเจ็บที่อาจขึ้น โดยการออกกำลังกายทีเหมาะสมในตอนเช้า ควรเป็นกิจกรรมทางกายในระดับเบาถึงปานกลาง การยืดเหยียด โยคะ เวทเทรนนิ่ง เต้นแอโรบิค หรือวิ่งเหยาะ เป็นต้น ต้องพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อป้องกันอาการวูบหรือหน้ามืด หากหลังออกกำลังแล้วเรารู้สึกหมดแรง อ่อนเพลีย หรือไม่สดชื่น แสดงว่าเราอาจออกกำลังกายมากหรือเข้มข้นเกินไป

 

10 เทคนิค ออกกำลังกายตอนเช้าให้สำเร็จ!

  1. กำหนดเวลาตื่นนอนและเวลาออกกำลังกายให้ชัดเจน
  2. เตรียมเสื้อผ้าและอุปกรณ์ออกกำลังกายไว้ตั้งแต่ก่อนนอน
  3. หาเหตุผลที่ทำให้ตัวคุณอยากออกกำลังกายตอนเช้า เพื่อลดน้ำหนัก รักษาสุขภาพ ฟื้นฟูร่างกายและจิตใจ เป็นต้น
  4. นอนหลับพักผ่อนอย่างน้อย 7 ชั่วโมง ก่อนวันออกกำลังกาย
  5. ทำให้ห้องนอนของคุณมืด สงบ และเย็น เพื่อการนอนหลับที่ดี
  6. หากตื่นยาก ลองให้คนที่ตื่นเช้ากว่าเรามาช่วยปลุก
  7. เริ่มต้นช่วงแรกด้วยกิจกรรมเบาๆ ไม่หนักเกินไป เช่น การยืดเส้นยืดสายหรือเดินเร็ว
  8. ชวนเพื่อนหรือสมาชิกในครอบครัวมาออกกำลังกายด้วยกันช่วยสร้างความสัมพันธ์
  9. ให้รางวัลตัวเองเล็กๆ เมื่อตื่นมาออกกำลังกายได้สำเร็จ
  10. อย่ายอมแพ้ แม้จะพลาดไปบ้างในบางวัน และกลับมาเริ่มใหม่ในวันถัดไป

 

จะเห็นว่าส่วนหนึ่งในการที่จะทำให้การออกกำลังกายตอนเช้าสำเร็จนั้น ขึ้นอยู่กับกิจวัตรในยามเย็นด้วย

อ่านวิธีดูแลสุขภาพในยามเย็นได้ที่ วิถีสุขภาพในยามเย็น – บริษัท ดอกเตอร์ทรงพลัง จำกัด (drsongpalang.com)

หรือติดตามเคล็ด(ไม่)ลับ สุขภาพวันละนิด ได้ที่บทความของเรา https://www.drsongpalang.com/category/blog/

Facebook Page: https://www.facebook.com/dr.songpalang

สุดท้ายนี้ ทีมงานดอกเตอร์ทรงพลังขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านดูแลสุขภาพตัวเองให้ดีอย่างยั่งยืน

Verified by MonsterInsights