ทางรอดอาหารก่อมะเร็ง

“มะเร็ง” นอกจากทรมานแล้ว ยังมีค่ารักษามหาศาล เราจึงควรลดการกินอาหารเสี่ยงโรคมะเร็ง แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า อาหารเสี่ยงมะเร็ง วันนี้เราจะมาไขข้องใจว่า อาหารชนิดใดเสี่ยงมะเร็ง และมาตรฐานการวัดจากองค์การอนามัยโลก พร้อมแนะนำการเลือกอาหารแบบที่ทำได้ด้วยตัวเอง  เพื่อไกลห่างจากมะเร็งกันครับ

ชนิดอาหารเสี่ยงมะเร็ง ที่เผยแพร่กันอย่างแพร่หลายคือ

  1. อาหารที่ปรุงด้วยความร้อนที่สูง เช่น ปิ้ง ย่าง รมควัน ทอด เนื่องจาก จะทำให้ โปรตีนและไขมันบางชนิดในอาหารเปลี่ยนเป็นสารก่อมะเร็งได้ เช่น สารพีเอเอช (Polycyclic Aromatic Hydrocarbon – PAH), สารอะคริลาไมด์ (Acrylamide), เอชซีเอ (Heterocyclic Amine – HCA)
  2. อาหารที่ผ่านการปรุงแต่ง แปรรูป หรือหมักดอง
  3. กลุ่มอาหารแห้ง มักพบเป็นเชื้อราที่ผลิตสารอะฟลาท็อกซิน (Aflatoxin) ที่เป็นสารก่อมะเร็ง(1)ชนิดหนึ่ง สามารถพบในถั่วลิสง พริกแห้ง หอม กระเทียม ธัญพืช
  4. อาหารที่มีอาจปนเปื้อนสารเคมีต่างๆ มักพบในอาหารที่มีการปรุงแต่งสี กลิ่น รส ที่มากจนเกินไป และผัก ผลไม้ที่ปนเปื้อน เช่น จากยาฆ่าแมลง
  5. อาหารดิบ เพราะอาจปนเปื้อนพยาธิใบไม้ในตับ ที่เป็นหนึ่งในสาเหตุของมะเร็งท่อน้ำดี
  6. การบริโภค เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แป้งขัดสี น้ำตาล ในปริมาณที่มากเกินไป

 

มาตรฐานการชี้วัดโดยหน่วยงาน International Agency for Research on Cancer (IARC)(2) ในสังกัด องค์การอนามัยโลก โดยได้แบ่งอาหารเสี่งมะเร็งออกเป็นกลุ่มดังนี้

กลุ่ม 1: มีหลักฐานบ่งชัดว่าสามารถก่อให้เกิดมะเร็งในมนุษย์

  • เนื้อสัตว์เกือบทุกชนิดที่ผ่านกระบวนการถนอมอาหาร (การทำเกลือ การบ่ม การหมัก การรมควัน การต้ม การทอด และ/หรือการเติมสารเคมีกันบูด) เช่น ไส้กรอก เบคอน แฮม นักเก็ต ปลาเค็มตากแห้งแบบจีน
  • อาหารที่ปนเปื้อน Alflatoxin เช่น ผลิตภัณฑ์ประเภทแป้ง ผลิตภัณฑ์จากถั่วลิสง ผัก,ผลไม้,ธัญพืชอบแห้ง ปลาแห้ง กุ้งแห้ง กะปิ พืชตระกูลหัวใต้ดิน เช่น มันสำปะหลัง หัวหอมแห้ง กระเทียมแห้ง
  • เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

 

กลุ่ม 2A: มีหลักฐานว่าน่าจะก่อให้เกิดมะเร็งในมนุษย์ได้ แต่ปัจจุบัน ยังไม่มีข้อสรุปแน่ชัด

  • อาหารที่ผ่านการทอดด้วยความร้อนสูง
  • เนื้อแดง เช่น หมู วัว แกะ ฯลฯ
  • ชามาเตร้อน และเครื่องดื่มร้อน (ไม่ถูกระบุแน่ชัดว่าเป็นเครื่องดื่มชนิดใด)

 

กลุ่ม 2B: มีหลักฐานว่ามีความเป็นไปได้ที่จะก่อให้เกิดมะเร็งในมนุษย์ได้ แต่ปัจจุบัน ยังหาข้อสรุปไม่ได้

  • สารสกัดจากว่านหางจระเข้ และ ใบกิงโก

 

กลุ่ม 3: ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานบ่งชี้ว่าเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์

  • ชา กาแฟ อาหารทั่วไป

 

มาถึงตรงนี้ ผมขอถอดรหัสและเสนอข้อแนะนำส่วนตัว เพื่อที่จะทำให้ทุกท่านสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ง่ายขึ้นดังนี้

  1. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และการควบคุมการกินน้ำตาลไม่ให้มากเกินไป(น้อยกว่า24กรัม/วัน) เพราะเป็นข้อมูลที่ชัดเจนว่าการบริโภคแอลกอฮอล์ และน้ำตาลที่มากเกินไปก่อให้เกิดผลกระทบกับระบบร่างกายโดยรวม
  2. หลีกเลี่ยงอาหารที่ย่อยยาก เพราะอาจส่งผลต่อการทำงานของภูมิคุ้มกันได้ เช่น พืชตระกูลถั่ว หมู
  3. เลือกรับประทานอาหารที่มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

สะอาด  ถ้าทำได้ ให้พิจารณาถึงแหล่งที่มาของอาหารชนิดนั้น ว่าเป็นแหล่งที่ท่านไว้วางใจได้หรือไม่ หลังจากนั้นให้ทำความสะอาดเท่าที่ท่านทำได้

สดใหม่  เพื่อหลีกเลี่ยงปัจจัยด้านเวลา ที่อาจทำให้อาหารนั้นเปลี่ยนแปลงหรือปนเปื้อน จะยิ่งดีหากมีคุณสมบัติที่สามารถเพาะงอกหรือเจริญเติบโตต่อได้

หลากหลาย  ทำให้ลดความเสี่ยงที่เราอาจได้รับสารใดสารหนึ่งซ้ำๆ ซึ่งอาจเป็นสารก่อมะเร็งติดต่อกัน และสามารถทำให้เรามีโอกาสได้รับโภชนาการที่หลากหลาย ครบถ้วนยิ่งมากขึ้น

ตามฤดูกาล  สอดคล้องกับการเติบโตของสิ่งมีชีวิตชนิดนั้น ลดโอกาสที่ผู้ผลิตจะใช้สารเคมีในการเพาะเลี้ยง และทำให้เราได้อิ่มเอมไปกับจังหว่ะของธรรมชาติ

แปรรูปน้อย  จากข้อมูลที่ผ่านมา เราเห็นแล้วว่า การแปรรูปอาหารถือเป็นความเสี่ยงหลักของอาหารเสี่ยงมะเร็ง

ปรุงด้วยความรัก  และเอาใจใส่ ไม่ใช้ความร้อนสูงเกินไป

หมายเหตุ อาหารเป็นเพียงหนึ่งในปัจจัยที่อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงของมะเร็ง ยังมีปัจจัยอื่นอีกมากมาย เช่น อากาศ อารมณ์ ออกกำลังกาย สิ่งแวดล้อม พันธุกรรม ทัศนคติ ฯลฯ ที่ในปัจจุบันยังไม่สามารถอธิบายถึงสาเหตุของมะเร็งได้อย่างชัดเจน

 

นอกจากนี้กิจวัตรยามเช้าและเย็นก็สำคัญไม่แพ้กัน สร้างวันที่ทรงพลังไปด้วยกัน

ออกกำลังกายช่วงเช้าดีอย่างไร – บริษัท ดอกเตอร์ทรงพลัง จำกัด (drsongpalang.com)

วิถีสุขภาพในยามเย็น – บริษัท ดอกเตอร์ทรงพลัง จำกัด (drsongpalang.com)

บริษัท ดอกเตอร์ทรงพลัง จำกัด และ B-STARK All in One Nutrition ขอเป็นพลังให้ท่านมีสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืนค่ะ/ครับ

Our Social https://www.facebook.com/dr.songpalang

อ้างอิง

  • Mahato, D. K., Lee, K. E., Kamle, M., Devi, S., Dewangan, K. N., Kumar, P., & Kang, S. G. (2019). Aflatoxins in Food and Feed: An Overview on Prevalence, Detection and Control Strategies. Frontiers in microbiology, 10, 2266. https://doi.org/10.3389/fmicb.2019.02266
  • Turner, M. C., Cogliano, V., Guyton, K., Madia, F., Straif, K., Ward, E. M., & Schubauer-Berigan, M. K. (2023). Research Recommendations for Selected IARC-Classified Agents: Impact and Lessons Learned. Environmental health perspectives, 131(10), 105001. https://doi.org/10.1289/EHP12547

Verified by MonsterInsights