Nutrition of Yogurt

ความเป็นมาของ “โยเกิร์ต”

หากมองย้อนไปเมื่อราว 7,000 ปีที่แล้ว โยเกิร์ต (Yogurt) ได้ถือกำเนิดขึ้นจากชาวทราเซียน ซึ่งเป็นบรรพบุรุษเก่าแก่ของชาวบัลแกเรีย โดยการนำน้ำนมจากสัตว์เก็บรักษาไว้ในถุงที่ทำจากหนังแกะแล้วคาดไว้ที่เอว ความอบอุ่นจากร่างกายร่วมกับจุลินทรีย์ที่มีอยู่ในหนังแกะ ช่วยให้เกิดปฏิกิริยาการหมักขึ้นจนกระทั่งน้ำนมในถุงกลายสภาพเป็นโยเกิร์ต

ในอดีต โยเกิร์ตผลิตจากน้ำนมดิบของสัตว์ชนิต่าง ๆ เช่น ม้า วัว ควาย แกะ ตามวัตถุดิบของแต่ละพื้นที่ แต่ปัจจุบันในอุตสาหกรรมการผลิตโยเกิร์ตนั้นใช้น้ำนมดิบจากวัวเป็นหลัก และมีรสชาติหลากหลายทั้งแบบโยเกิร์ตธรรมชาติ (Plain Yogurt) และโยเกิร์ตที่มีการปรุงแต่งส่วนผสมเพิ่มเติม เช่น น้ำตาลและสารแต่งกลิ่นสังเคราะห์

ประโยชน์ของ “โยเกิร์ต”

จุลินทรีย์ที่ใช้ในกระบวนการหมักโยเกิร์ตนั้น คือ แบคทีเรียแลคโตบาซิลัส เอซิโดซิส และ สเตรปโตคอคคัส เทอร์โมฟิลลัส ซึ่งแบคที่เรียเหล่านี้ได้ช่วยย่อยน้ำตาลแล็กโทสซึ่งเป็นน้ำตาลธรรมชาติที่อยู่ในนมให้เป็นกรดแลคติก ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานชั้นเลิศอีกทั้งยังทำให้โปรตีนนมเกิดการแข็งตัว มีภาวะกรด มีรสเปรี้ยว และกลายเป็นโยเกิร์ตที่มีเนื้อสัมผัสโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์

สำหรับโยเกิร์ตธรรมชาติ ที่ไม่มีการปรุงแต่งรสชาติหรือสารสังเคราะห์  ซึ่งเปี่ยมไปด้วยคุณประโยชน์มากมาย ได้แก่

อุดมไปด้วยสารอาหารที่สำคัญ

ในโยเกิร์ต 1 ถ้วยมีสารอาหารเกือบทุกชนิดที่ร่างกายต้องการ ได้แก่

แลคติก Organic acid พลังงานในระดับเซลล์ ที่ช่วยเพิ่มความสดชื่น ฟื้นฟูเซลล์ และยังเป็นพรีไบโอติก สร้างความสมดุลให้ลำไส้และระบบภูมิคุ้มกัน

แคลเซียม มีปริมาณมากถึง 49% ของความต้องการในแต่ละวัน ซึ่งเป็นแร่ธาตุที่จำเป็นต่อสุขภาพฟันและกระดูก

วิตามินบี วิตามินบี 12 และไรโบฟลาวิน (B2) ซึ่งทั้งสองอย่างนี้ช่วยป้องกันโรคหัวใจและความพิการแต่กำเนิดของท่อประสาท

แร่ธาตุอื่น ๆ เช่น ฟอสฟอรัส 28% โพแทสเซียม 10% และแมกนีเซียม 12% ของความต้องการในแต่ละวัน แร่ธาตุเหล่านี้จำเป็นต่อกระบวนการทางชีวภาพหลายอย่าง เช่น ควบคุมความดันโลหิต เมแทบอลิซึม และสุขภาพของกระดูก

อีกทั้งยังมีค่าดัชนีน้ำตาลที่ต่ำ ซึ่งมีประโยชน์อย่างมากสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมระดับน้ำตาล

มีจุลินทรีย์ที่ดีต่อระบบทางเดินอาหาร

ในโยเกิร์ตบางชนิดมีจุลินทรีย์ที่มีชีวิตหรือโปรไบโอติก ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อระบบทางเดินอาหารอย่างมาก แต่ในโยเกิร์ตที่ผ่านกระบวนการพาสเจอร์ไรส์ซึ่งเป็นการอบด้วยความร้อนนั้นได้ฆ่าแบคทีเรียที่มีประโยชน์เหล่านี้จนหมด แต่สำหรับโยเกิร์ตบางยี่ห้อที่ติดฉลากว่ามี “เชื้อจุลินทรีย์ที่ยังมีชีวิต” ก็มักจะสูญเสียโปรไบโอติกไปบ้าง เนื่องจากอุณหภูมิในการเก็บรักษาและจากปัจจัยอื่น ๆ ได้

โปรไบโอติกที่พบในโยเกิร์ต ได้แก่ บิฟิโดแบคทีเรียและแลคโตบาซิลลัส มีคุณสมบัติช่วยลดอาการของโรคลำไส้แปรปรวน (IBS) ซึ่งเป็นโรคที่พบได้บ่อยและส่งผลโดยตรงต่อลำไส้ใหญ่ อีกทั้งในงานวิจัยยังพบว่าโปรไบโอติกช่วยลดอาการผิดปกติของระบบทางเดินอาหารทั่วไป เช่น ท้องอืด ท้องเสีย และท้องผูก ได้อีกด้วย

เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของคุณ

การกินโยเกิร์ตเป็นประจำช่วยทำให้ระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรงขึ้น ช่วยลดโอกาสในการติดเชื้อไวรัส ไปจนถึงความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร และจุลินทรีย์บางชนิดยังช่วยลดการอักเสบได้อีกด้วย

และในผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าในบางกรณีโยเกิร์ตสามารถช่วยลดความรุนแรงของโรคไข้หวัด เนื่องจากมีคุณสมบัติในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันอันเป็นผลมาจากแร่ธาตุต่าง ๆ ได้แก่ แมกนีเซียม ซีลีเนียม และสังกะสี

เลือก “โยเกิร์ต” อย่างไรให้ดีต่อสุขภาพ

หากต้องการรับประทานโยเกริต์เพื่อสุขภาพนั้น การเลือกโยเกิร์ตธรรมชาติที่ไม่ปรุงแต่รสชาติหรือสารสังเคราะห์นั้นเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด ซึ่งสามารถน้ำรับประทานร่วมกับผลไม้หรือธัญพืชได้ นอกจากนี้โยเกิร์ตที่ขายในท้องตลาดนั้นยังมีตัวเลือกมากมาย โยเกิร์ตไขมันต่ำสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมแคลลอรี และโยเกิร์ตไขมันเต็มที่มีแคลอรีมากกว่าแต่ก็อุดมไปด้วยสารอาหารและช่วยให้อิ่มท้อง

 

Try-in Alert!

B-STARK All in one Nutrition 1 ซองมี แลคติกเทียบเท่ากับการกินโยเกิร์ตถึง 800 กรัม และยังมีสารอาหารจำเป็นอื่นๆ กว่า 15 ชนิด

 

รู้จัก “แลคติก” พลังงานแห่งศตวรรษที่ 21 สารอาหารสำคัญของโยเกิร์ต มากขึ้นได้ที่

รู้จักแลคติก…พลังงานใหม่แห่งศตวรรษที่ 21 (drsongpalang.com)

บริษัท ดอกเตอร์ทรงพลัง จำกัด และ B-STARK All in One Nutrition ขอเป็นพลังให้ท่านมีสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืนค่ะ/ครับ

Our Social https://www.facebook.com/dr.songpalang

Verified by MonsterInsights